Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
|    

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

[11-09-2562] ประกันภัยลงขันเพิ่ม 20 ล้าน ดันใช้ NDID ต้นปี 63
สมาคมประกันวินาศภัยไทย ลงขัน NDID เพิ่ม 20ล้านบาท ดันระบบพิสูจน์ตัวตนใช้ธุรกิจประกัน คาดพร้อมใช้ต้นปี 63  เคาะเพดานราคาดึงข้อมูลระหว่างกันไม่เกิน 200-300บาทต่อรายการ ลั่นห้ามซื้อขายข้อมูลใช้ได้แค่ครั้งเดียวนายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทยและผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)หรือ BKI เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการพิสูจน์ตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC) ผ่านระบบ 
National Digital ID หรือ NDID กับ“ฐานเศรษฐกิจ”ว่า สมาคมประกันวินาศภัยไทยได้เพิ่มทุนราว 20ล้านบาท หลังจากบริษัท เนชั่นแนล ดิจิทัลไอดี จำกัดขอเพิ่มทุนจาก 100ล้านบาทเป็น 250ล้านบาทตามสัดส่วนการถือหุ้น เพื่อรองรับการขยายโครงสร้างระบบงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่่งสมาคมได้ปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นจากเดิม 10%ลงมาอยู่ที่ 7%อานนท์ วังวสุ ทั้งนี้คาดว่า ในธุรกิจประกันจะสามารถใช้ระบบ NDID ได้ราวต้นปี 2563หลังจากนำร่องระบบธนาคารพาณิชย์ที่จะใช้ในไตรมาส 4ปีนี้ โดยอยู่ระหว่างพิจารณาว่า จะนำระบบหรืออะไรมาใช้ในการพิสูจน์ตัวตน ซึ่งในส่วนค่าธรรมเนียมในการเรียกดูข้อมูลระหว่างกันของหน่วยงานสมาชิก NDID ได้ข้อสรุปเรียบร้อยแล้ว โดยจะคิดในอัตราหลักร้อยบาท ถือว่า เป็นอัตราที่เหมาะสมและยอมรับได้
“เราใส่เงินเพิ่มทุนไปประมาณ 20ล้านบาทตามสัดส่วนการถือหุ้น ส่วนระบบพร้อมใช้งานในส่วนประกันน่าจะเป็นต้นปีหน้า ซึ่งต้องรอให้แบงก์เขาใช้กันก่อน โดยตอนนี้บริษัทประกันก็คิดกันว่าจะใช้อะไรมาพิสูจน์ตัวตน ส่วนค่าธรรมเนียมเคาะอยู่ในระดับหลักร้อย”นายฐากร ปิยะพันธ์ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงานดิจิทัลแบงกิ้งและนวัตกรรม บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า ค่าธรรมเนียมการใช้บริการ NDID จะแบ่งเป็น 2อัตราคือ 1.การใช้บริการ NDID จะคิดในอัตราถูกเพียงไม่กี่บาท และ 2.การดึงข้อมูลระหว่างองค์กรหรือหน่วยงานอื่น เพดานอัตราค่าธรรมเนียมจะอยู่ที่ราว 200-300บาทต่อรายการทั้งนี้ การใช้บริการข้อมูลจากหน่วยงานอื่น อัตราค่าธรรมเนียมจะสูงกว่าการใช้บริการ NDID เนื่องจากต้นทุนการเก็บข้อมูลค่อนข้างสูง เพราะมีเรื่องต้นทุนของสาขา ระบบการเก็บรักษา ระบบรักษาความปลอดภัยในการส่งข้อมูล อย่างไรก็ดี การขอข้อมูลหรือดึงข้อมูลระหว่างกันนั้น จะใช้ได้เฉพาะการทำธุรกรรมครั้งนั้นๆโดยลูกค้าจะสั่ง Consent ไว้ ทำให้ข้อมูลที่ส่งต่อเพื่อพิสูจน์หรือยืนยันตัวตนนั้นจะไม่สามารถใช้กรณีอื่นได้ เช่น การขายต่อข้อมูล
 
“ค่าธรรมเนียมต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่จ่ายให้ NDID ไม่แพงไม่กี่บาท แต่ในส่วน IDP คือ เจ้าของข้อมูล รูป อันนี้จะหลักร้อย โดยเพดานน่าจะอยู่ที่ 200-300 บาท ซึ่งแต่ละหน่วยงานอาจจะเก็บไม่ถึง แต่ก็มีกรอบห้ามคิดเกิน ซึ่งจะเห็นว่าสูงก็เป็นไปตามต้นทุนการเก็บข้อมูลที่สูง”นายอภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน์ กรรมการและประธานคณะผู้บริหาร บมจ. กรุงเทพประกันภัย กล่าวว่า ขณะนี้้ทุกบริษัทน่าจะอยู่ระหว่างเตรียมตัวทำระบบรองรับ NDID เพราะจะเห็นว่าในต่างประเทศแค่เสียบบัตรประชาชนระบบข้อมูล เช่น บุคคลนี้โดนใบสั่งกี่ใบ โดนปรับไปแล้วเท่าไร กรณีใดบ้าง จะขึ้นมาในระบบทั้งนี้ หากระบบ NDID ของไทยพัฒนาแล้วเสร็จ จะช่วยเรื่องการทำสัญญารับประกันภัย (Underwrite) การยืนยันและพิสูจน์ตัวตน การตรวจสอบข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดการซับซ้อนของงานในกระบวนการขั้นตอนต่างๆ และจะช่วยลดต้นทุนในด้านต่างๆ ในอนาคตให้ปรับลดลงอีกด้วย
ที่มา  หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,504 วันที่ 12-14 กันยายน 2562






 

หน้าแรก | เกี่ยวกับเรา | ใบประกอบการ | การเข้าตลาดหลักทรัพย์ | แผนธุรกิจ | ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ | ข้อมูลลงทุน | ติดต่อเรา | สำหรับพนักงาน   
Copyright 2010 c-amc.com All Right Reserved. Website by GM