Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
|    

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

กลยุทธ์สรรพากรตรวจสอบและประเมินภาษี

จากประสบการณ์ของผู้เขียน โดยทั่วไปถ้าหากผู้ประกอบการดำเนินการถูกต้องโอภาสจะถูกตรวจสอบหรือถูกประเมินภาษีอากรก็เกิดขึ้นได้ยาก แต่ในความเป็นจริงสถานะการเงินการคลังของประเทศก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กรมสรรพากรมุ่งจะตรวจสอบผู้ประกอบการที่ประกอบถูกต้องเพราะอาจพบ ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องเตรียมพร้อมเพราะแม้หากจะมีการตรวจสอบหรือประเมินภาษีอากรแล้วผู้ประกอบการก็สามารถเจรจากับเจ้าพนักงานได้และหากถูกประเมินก็สามารถอุทธรณ์การประเมินดังกล่าวต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ หรือต่อศาลเพื่อให้คำอุทธรณ์ของตนได้รับชัยชนะถึงที่สุด
  1. ผู้ประกอบการควรจะจัดทำบัญชี รวมทั้งการยื่นแบบเสียภาษีให้ถูกต้องโดยจะต้องดูให้ถูกต้อง อย่าให้มีข้อผิดพลาดเพราะการยื่นแบบหรือการทำบัญชีที่ผิดพลาดนั้นจะเป็นจุดหนึ่งที่จะทำให้เจ้าหน้าที่สงสัยและเริ่มให้มีการตรวจสอบผู้เสียภาษีอากรนั้นเสียภาษีถูกต้องหรือไม่อาทิเช่น ในกรณีที่เป็นบริษัทต้องดูว่าแบบที่ยื่นโดยเฉพาะการหักค่าใช้จ่ายนั้นไม่ควรจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องห้ามหรือมีปัญหา ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดาก็ต้องดูว่าค่าใช้จ่ายที่หักนั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดการทำบัญชีหรือยื่นแบบควรเป็นหน้าที่ของ นักบัญชี และนักกฎหมายผู้มีความชำนาญในเรื่องภาษีอากรโดยเฉพาะ
  2. หากจะต้องมีการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานิติบุคคล หรือภาษีซื้อของภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ผู้ประกอบการต้องมั่นใจว่าจำนวนเงินที่ขอคืนภาษีกับผลกระทบที่อาจจะได้รับในการตรวจสอบภาษีนั้นจะคุ้มกันเพราะมิฉะนั้นแล้วหากการขอคืนภาษีกรมสรรพากรก็อาจจะมีการตรวจสอบบัญชีของผู้ประกอบการแลอาจจะพบว่าผู้เสียภาษีเสียภาษีไม่ถูกต้องในหลายรายการจึงควรจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากและปัจจุบันกรมสรรพากรก็ได้ระบุในแบบยื่นเสียภาษีให้บริษัทขอคืนภาษีเลยเพื่อสะดวกในการตรวจสอบดังนั้นผู้ประกอบการควรเสียภาษีให้ถูกต้องเพราะอาจถูกตรวจสอบจากการขอคืน
  3. เมื่อมีหมายเรียกตรวจสอบภาษีมา ควรต้องพิจารณาดูว่าหมายเรียกหรือหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรหรือการประเมินนั้นถูกส่งโดยชอบด้วยหรือไม่มีผู้ลงนามโดยชอบด้วยหรือไม่เพราะกฎหมายบังคับให้ส่งโดยลงทะเบียนตอบรับหรือให้เจ้าพนักงานไปส่งในเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกในเวลาทำงานหรือจะส่งให้แก่บุคคลใดที่เป็นผู้บรรลุนิติภาวะก็ได้และตามกฎหมายนั้นถ้าหากส่งไม่ได้นั้น กรมสรรพากรมีอำนาจที่จะใช้วิธีปิด เพราะฉะนั้นการถือว่าได้รับหรือไม่ได้รับนั้นจึงมีความสำคัญยิ่งเนื่องจากว่ามีส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับระยะเวลาการอุทธรณ์และการดำเนินคดีด้วย
  4. ผู้ประกอบการหรือผู้ได้รับหมายเรียกต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่โดยอาจขอเวลาจัดเตรียมเอกสารและให้ความร่วมมือในการให้ข้อเท็จจริงและปากคำอย่างเต็มที่โดยจัดส่งเอกสารพร้อมเก็บหลักฐานในการนำส่งเอกสารต่อเจ้าพนักงานที่ออกหมายเรียกรวมทั้งคำให้การทั้งหมดโดยต้องปรึกษากับผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำเอกสารนั้นๆเพราะว่าข้อเท็จจริงนี้จะมีส่วนสำคัญยิ่ง ถ้าหากมีการประเมินภาษีผู้ถูกประเมินจะได้นำข้อต่อสู้ดังกล่าวนั้นมาใช้ในการอุทธรณ์ทั้งในชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และชั้นศาล ข้อสำคัญคือ หากไม่ให้ความร่วมมือและจะถูกประเมินภาษีแล้วก็อาจจะต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ตามกฎหมายได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ยอมตอบข้อคำถามหรือว่าซักถาม โดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ยอมปฏิบัติตากฎหมาย โดยคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน
Last Updated on31/3/2011





 

หน้าแรก | เกี่ยวกับเรา | ใบประกอบการ | การเข้าตลาดหลักทรัพย์ | แผนธุรกิจ | ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ | ข้อมูลลงทุน | ติดต่อเรา | สำหรับพนักงาน   
Copyright 2010 c-amc.com All Right Reserved. Website by GM

Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0