|
|
[27-06-2019] ศาลรธน.รับวินิจฉัย 32 ส.ส. “บิ๊กตู่”โล่งตั้งรัฐบาลได้ ศาลรธน.สั่งรับเรืองวินิจฉัยส.ส.ถือหุ้นสือ 32ราย จาก 41ราย รอด 9ราย แต่ไม่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่
เมื่อวันที่ 26มิ.ย.62ศาลรัฐธรรมนูญได้ประชุมปรึกษาพิจารณาคดี กรณีประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคําร้อง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๒ จํานวน ๒ คําร้อง โดยขอให้วินิจฉัยว่าสมาชิกภาพ ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) จํานวน ๔๑ คน สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๑ (5) ประกอบ มาตรา ๙๘ (๓) หรือไม่
ข้อเท็จจริงตามคําร้องและเอกสารประกอบคําร้องปรากฏว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ เข้าชื่อร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร้อง ขอให้ส่งคําร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จํานวน ๔๑ คน ผู้ถูกร้อง สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๒ วรรคหนึ่ง เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จํานวน ๔๑ คน เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องทั้งสี่สิบเอ็ดคน สิ้นสุดลงตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๑ (๖) ประกอบมาตรา ๔๔ (๓)
ศาลประชุมปรึกษาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๘ (๓) บัญญัติลักษณะต้องห้ามของ บุคคลที่จะใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้ว่า “เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการ หนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ” มิใช่เพียงมีเจตนาหรือความประสงค์จะทํากิจการดังกล่าวเท่านั้น ถึงแม้การถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่มีวัตถุที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจพอที่จะใช้เป็นเหตุให้มีการยื่นคําร้อง ต่อศาลได้ แต่ก่อนที่จะรับคําร้องไว้พิจารณาต่อไปได้ยังจําเป็นต้องตรวจสอบวัตถุที่ประสงค์ของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่ผู้ถูกร้องทั้งสี่สิบเอ็ดคนถือหุ้นอยู่ว่าเป็นวัตถุที่ประสงค์ที่จะประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือ สื่อมวลชนใด ๆ หรือไม่ ซึ่งเมื่อตรวจสอบจากเอกสารประกอบคําร้องของผู้ร้องแล้ว
ปรากฏว่าหนังสือรับรอง การจดทะเบียนนิติบุคคลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งออกให้แก่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ของนายศาสตรา ศรีปาน ผู้ถูกร้องที่ ๑๔ , นายสุรศักดิ์ ชิงนวรรณ์ ผู้ถูกร้องที่ ๑๖ , นางสาวภริม พูลเจริญ ผู้ถูกร้องที่ ๑๗, นางสาวปารีณา ไกรคุปต์ ผู้ถูกร้องที่ ๒๐, นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ผู้ถูกร้องที่ ๒๖ และ นายจักรพันธ์ พรนิมิต ผู้ถูกร้องที่ ๒๗ ตามคําร้องที่หนึ่ง (เรื่องพิจารณาที่ ๑๒/๒๕๖๒) และนายกรณ์ จาติกวณิช ผู้ถูกร้องที่ ๒ , นายประมวล พงศ์ถาวราเดช ผู้ถูกร้องที่ ๓ และนายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ผู้ถูกร้องที่ ๘ ตามคําร้องที่สอง (เรื่องพิจารณาที่ ๑๓/๒๕๖๒) โดยมีข้อความระบุรายละเอียดวัตถุที่ประสงค์ไว้ ทํานองเดียวกันว่า “การประกอบกิจการค้า กระดาษ เครื่องเขียน แบบเรียน แบบพิมพ์ หนังสือ อุปกรณ์ การเรียนการสอน อุปกรณ์ถ่ายภาพและภาพยนตร์ เครื่องคํานวณ เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์การพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ตู้เก็บเอกสาร และเครื่องใช้สํานักงานทุกชนิด เครื่องมือสื่อสาร คอมพิวเตอร์ รวมทั้งอุปกรณ์ และอะไหล่ของสินค้าดังกล่าว” ซึ่งเป็นวัตถุที่ประสงค์ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ ที่จะเป็นลักษณะเข้าข่าย อันเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องจํานวน ๔ คน ต้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๑ (5) ประกอบมาตรา ๙๘ (๓) แต่อย่างใด
จึงมีคําสั่งไม่รับคําร้องในส่วนของผู้ถูกร้อง จํานวน ๙ คน ไว้พิจารณาวินิจฉัย สําหรับคําร้องของผู้ร้องในส่วนของผู้ถูกร้องที่เหลือ จํานวน ๓๒ คน เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๒ วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาล รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗ (๕) แล้ว ศาลจึงสั่งรับคําร้องของผู้ถูกร้อง จํานวน ๓๒ คน ไว้พิจารณา วินิจฉัย และแจ้งให้ผู้ร้องทราบพร้อมส่งสําเนาคําร้องให้ผู้ถูกร้องทั้งสามสิบสองคนยื่นคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสําเนาคําร้อง
สําหรับคําขอให้ผู้ถูกร้องทั้งสามสิบสองคนหยุดปฏิบัติหน้าที่นั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๒ วรรคสอง บัญญัติเงื่อนไขไว้ว่าจะต้อง “ปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่าสมาชิกผู้ถูกร้องมีกรณีตามที่ถูกร้อง” แต่ในคดีนี้ผู้ร้องไม่ได้ตั้งคณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงคงมีเอกสารประกอบคําร้องเพียงหนังสือรับรอง ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทระบุรายละเอียดวัตถุที่ประสงค์กับสําเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นเท่านั้น ไม่ปรากฎแบบแสดง รายการเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของห้างหุ้นส่วนบริษัท ฯ (แบบ สสช.๑) และแบบนําส่งงบการเงินของ ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทว่ามีรายได้จากการประกอบกิจการใด กรณีจึงยังไม่มีความชัดเจนว่า ผู้ถูกร้องประกอบ ธุรกิจใด ซึ่งศาลจะต้องดําเนินการไต่สวนเพื่อหาข้อเท็จจริงให้ยุติต่อไป เมื่อยังไม่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่า ผู้ถูกร้อง จํานวน ๓๒ คน มีกรณีตามที่ถูกร้อง ในชั้นนี้ จึงยังไม่เข้าเงื่อนไขที่จะสั่งให้ผู้ถูกร้องทั้งสามสิบสองคน หยุดปฏิบัติหน้าที่
อนึ่ง คดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ร้อง ยื่นคําร้องขอให้วินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ถูกร้อง สิ้นสุดลง (เรื่องพิจารณาที่ ๑๐/๒๕๖๒) ได้ผ่านการสอบสวนของคณะกรรมการ การเลือกตั้งซึ่งมีการสืบสวนหาข้อเท็จจริงมาก่อนยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีเอกสารประกอบคําร้อง เช่น แบบ สสช.๑ ระบุสินค้าหรือบริการที่ประกอบการว่า ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ โรงพิมพ์ รับพิมพ์ หนังสือ พิมพ์หนังสือจําหน่าย ประกอบกับแบบนําส่งงบการเงินที่บริษัทของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ถูกร้อง ยืนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ๒๕๕๔ - ๒๕๕๘ ระบุไว้ชัดเจนว่ามีรายได้จากการขายนิตยสาร และรายได้ จากการให้บริการโฆษณา กรณีจึงมีเหตุอันควรสงสัยว่า นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ถูกร้อง มีกรณีตามที่ ถูกร้อง ศาลรัฐธรรมนูญจึงได้มีคําสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคําวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๒ วรรคสอง
เว็บ กรุงเทพธุรกิจ
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/838995
|
|
|